Probiotics ชื่อที่คุ้นเคย แต่ยังไม่เข้าใจ ?
- ทิโมที อบูดาบี
- 8 ม.ค. 2567
- ยาว 1 นาที

“โพรไบโอติกส์ (Probiotics)” ชื่อที่คุ้นเคย แต่ยังไม่เข้าใจ ?
หลายๆท่านคงคุ้นหูและได้ยินคำว่า “โพรไบโอติกส์ (Probiotics)” กันมานักต่อนักแล้ว แต่จะมีสักกี่ท่านที่เข้าใจความหมายจริงๆว่าสิ่งนี้คืออะไร? วันนี้ iherblab เลยจะมาทุกท่านมาทวนความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ให้มากขึ้นค่ะ
จริงๆ แล้ว โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นชื่อเรียกของจุลินทรีย์ขนาดเล็ก ที่มีส่วนช่วยในการผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งพบได้ในร่างกายของมนุษย์เราอยู่แล้ว แต่ด้วยปัจจัยบางอย่างก็อาจส่งผลให้จุลินทรีย์ชนิดนี้ลดลง ส่งผลต่อการทำงานของระบบย่อยอาหาร จึงมีความจำเป็นต้องเสริมด้วยการทานอาหารกลุ่มจุลินทรีย์ Probiotics ไม่ว่าจะเป็น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว หรือผักดอง
Probiotic ที่ว่าสำคัญ ช่วยเรื่องอะไรล่ะ?
แก้ไขปัญหาระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็น โรคอุจจาระร่วง ท้องผูก ลำไส้แปรปรวน หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง
กระตุ้นระบบย่อยอาหารโดยการสร้างเอนไซม์หลายชนิด
ช่วยดูแลสุขภาพช่องปาก ป้องกันฟันผุ
ป้องกันโรคภูมิแพ้ มีส่วนช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เข้าสู่ภาวะสมดุล
ช่วยลดความดันโลหิต
ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
หน้าตาสดใส ผิวพรรณดี

โพรไบโอติกส์มีแบบไหนบ้าง?
หลักๆ แล้ว โพรไบโอติกส์จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โพรไบโอติกส์ธรรมชาติ และโพรไบโอติกส์ในรูปแบบอาหารเสริม แล้วแตกต่างกันอย่างไร? แบบไหนถึงจะดี?

โพรไบโอติกส์แบบธรรมชาติ
โพรไบโอติกส์ธรรมชาตินั้นสามารถพบได้ทั่วไปจากอาหารในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาหารบางชนิดนั้นเราสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด เช่น
• นมเปรี้ยว
• โยเกิร์ต
• อาหารหมักดอง
• ดาร์กช็อคโกแลต
• ชีสบางประเภท
• เทมเป้
• ชาหมัก
• ถั่วเน่า
• แอปเปิ้ลไซเดอร์
• ซุปมิโซะ

โพรไบโอติกส์แบบอาหารเสริม
โพรไบโอติกแบบผง
เป็นโพรไบโอติกส์ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะสามารถใส่ปริมาณโดสได้ค่อนข้างเยอะและเพียงพอต่อที่ร่างกายต้องการ
โพรไบโอติกแบบเม็ด
ทานง่าย เหมาะกับจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ไม่ทนต่อความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร แต่อาจได้รับปริมาณจุลินทรีย์ที่น้อยกว่าแบบผง หากโพรไบโอติกส์แบบเม็ดนั้นมีขนาดบรรจุที่เล็กกว่า
โพรไบโอติกแบบเยลลี่
เหมาะเป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กๆ ที่ไม่ค่อยชอบทานผักผลไม้ นมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต
ปริมาณ probiotics ที่ควรรับประทานต่อวัน
ตั้งแต่ 10-20 พันล้านตัวต่อวัน หรืออย่างต่ำ 10,000 ล้าน CFU โดย CFU คือ หน่วยที่ใช้ตรวจปริมาณจุลินทรีย์ที่อยู่ในสินค้าและอาหารไม่ว่าจะเป็น นมเปรี้ยว หรือ อาหารเสริม
probiotics นอกจากจะเจอได้ในอาหารเช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ของหมักดองต่างๆ แล้ว ยังสามารถรับประทานได้จากอาหารเสริม probiotics อีกด้วย การรับประทานอาหารในแต่ละวันบางครั้งอาจไม่ได้จำนวน probiotics ตามที่ร่างกายต้องการ
นอกจากนี้ร่างกายยังสามารถสูญเสีย probiotics ธรรมชาติไปจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันได้อีกด้วย อาหารเสริม probiotics จึงถือเป็นทางเลือกในการรับประทาน probiotics ที่สะดวกสะบาย พกพาติดตัวได้ ทานได้เมื่อต้องการ
หากต้องการสร้างแบรนด์อาหารเสริมและศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ และต้องการทราบข้อมูลสารสกัดพิเศษใดๆ สามารถติดต่อสอบถาม iherb-lab โรงงานรับผลิตอาหารเสริมเข้ามาได้ทันที เรามีเจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญพร้อมเป็นที่ปรึกษาในการสร้างแบรนด์คอยตอบทุกคำถามให้กับคุณค่ะ
Comments